วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทที่ 14 จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

“จริยธรรม” หรือ Ethics หมายถึง “หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ” หรืออาจหมายถึง หลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันในสังคม
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศจะกล่าวถึงใน 4 ประเด็นคือ
1) ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2) ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3) ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
4) การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
ในด้านกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
1) กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2) กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3) กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6) กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime หรือ Cyber Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการก่อกวนโดยกลุ่มแฮกเกอร์ (Hacker) เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ การทำลายข้อมูลและอุปกรณ์ เป็นต้น คอมพิวเตอร์เป็นทั้งเครื่องมือและเป้าหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ เช่น ใช้ในการขโมยเงิน รายชื่อลูกค้า ข้อมูลส่วนบุคคล หมายเลขบัตรเครดิต และอื่นๆ ส่วนคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเป้าหมายของการก่ออาชญากรรม เช่น แฮกเกอร์เข้าไปก่อกวน ทำลายระบบของผู้อื่น
วิธีป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์จากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตมีดังนี้
1) การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน (Password)
2) การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือกุญแจ
3) การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (Biometric Device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4) ระบบเรียกกลับ (Callback System) เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบบชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าไปใช้ระบบปลายทาง
เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็สามารถบั่นทอนความรู้ได้ หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็น หน่วยงานต่าง ๆ ควรกำหนดระเบียบอย่างเคร่งครัด อีกทั้งช่วยกันสอดส่อง ดูแลและป้องกันอาชญากรรม ตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมของโลกให้น่าอยู่ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: