วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นการสร้างระบบงานใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิมที่มีอยู่ในดีกว่าเดิมเพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานบางอย่างหรือต้องการสร้างโอกาสในการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจ โดยทั่วไปการพัฒนาระบบจะประกอบด้วย กระบวนการทางธุรกิจ บุคลากร วิธีการและเทคนิค งบประมาณ ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการ และการบริหารโครงการ
การพัฒนาระบบสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่และรับผิดชอบในกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น ผู้บริหารโครงการ ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ชำนาญการด้านเทคนิค ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
หลักการที่สำคัญที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศมีประสิทธิภาพมีดังนี้
(1) คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
(2) เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด
(3) กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
(4) กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
(5) ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
(6) เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
(7) แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย และ
(8) ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต
การพัฒนาระบบเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนโดยวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศแบ่งออก

เป็น 6 ระยะ ได้แก่
1) การกำหนดและเลือกโครงการ
2) การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
3) การวิเคราะห์ระบบ
4) การออกแบบระบบ
5) การพัฒนาและติดตั้งระบบ
6) การบำรุงรักษาระบบ
โดยแต่ละองค์การอาจแบ่งระยะและขั้นในแต่ละระยะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ลักษณะและข้อกำหนดขององค์การ ทำให้วงจรการพัฒนาระบบมีรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบน้ำตก รูปแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ แบบการพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว และแบบขดลวด สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายวิธีเช่นกัน อาทิ การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม การสร้างต้นแบบ การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ การใช้บริการจากแหล่งภายนอก การใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประยุกต์ การพัฒนาระบบงานแบบออบเจ็กต์ และการพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบ รวดเร็ว ทั้งนี้ระบบสารสนเทศต่าง ๆ ขององค์การอาจเลือกใช้วิธีที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์และลักษณะการดำเนินงานของแต่ละระบบ ดังนั้นการรู้จักเลือกใช้วิธีการพัฒนาระบบที่เหมาะสม จะช่วยให้สามารถพัฒนาระบบได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ภายในกรอบของเวลาและงบประมาณที่กำหนด
การพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร มีการกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ทีมพัฒนาควรมีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ มีความสามารถในการรวบรวมปัญหาและความต้องการของระบบ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และมีการบริหารโครงการพัฒนาระบบ สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: